1. ความเป็นมาของทัศนศิลป์
ความเป็นมาของคำว่า “ทัศนศิลป์” เกิดจากแนวความคิดของศิลปิน เบาเฮาส์ ใน เยอรมนี ซึ่งก็ตังสถาบัน “เบาเฮาส์” นี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1919 และก่อตั้งได้ไม่นานก็แยกย้ายไปในประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งย้ายไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกามากที่สุด และได้ตั้งสถาบันศิลปะแห่งใหม่ขึ้นมาที่นครชิคาโก ชื่อ Institute of Design โดย โมโฮลี นาจ (Mr.Moholy Nagy) และพยายามทบทวนจุดยืนทางศิลปะขึ้นใหม่ตามแนวทางทางศิลปะมีลักษณะทางวิทยาศาสตร์มายิ่งขึ้นเมื้อผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนี้มากขึ้นจึงได้คิดค้นคำใหม่ที่เหมาะสมรัดกุมจึงได้ใช้คำว่า Visual Art แต่ความเข้าใจและความหมายของคำตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจึงสงผลต่อการรับรู้ถึงความหมายและขอบข่ายของ Visual Art ดังนั้นจึงได้มีการทบทวนใหม่ โดยสถาบัน “เบาเฮาส์” ในเยอรมนี ซึ่งได้ร่วมขอบค่ายของศิลปะ 3 สาขาคือ สถาปัตยกรรม จิตกรรม และ ประติมากรรม เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็น Visual Art ซึ่งในภาษาไทยเรียกว่า ทัศนศิลป์ หมายถึงผลงานมนุษย์สร้างขึ้นให้เห็นรูปทรง 2 มิติและ 3 มิติ มีเนื้อที่ปริมาตรและเนื้อที่ บริเวณว่างตามปริมาตร ของการรับรู้ที่มีลักษณะเป็น 2 มิติและ 3 มิติ และที่สำคัญต้องสามารถมองเห็นได้นั่นเอง
2. ประเภทของทัศนศิลป์
ประเภทของงานศิลป์ โดยการจำแนกตามรูปแบบทัศนศิลป์ประเภท 2 มิติ ผลงานทัศนศิลป์ที่ปรากฏบนพื้นระนาบ ทั้งที่ขรุขระและเรียบทั้งนี้ปรากฏในลักษณะที่เป็นเส้น สี แสงเงาหรือลักษณะพื้นผิวใดๆที่ปรากฎบนพื้นระนาบ สร้างมิติสร้างรองรับเป็น 2 มิติ ส่วน 3 มิติ คือด้านลึกหรือหนาเป็นมิติลวงเกิดขึ้นโดยความรู้สึกของผู้ดู เช่น ภาพวาด ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ฯลฯทัศนศิลป์ประเภท 3 มิติ คือลักษณะจริงของมิติทั้ง 3 ประการ มีความกว้าง มีความยาว มีความลึก มีความเป็นจริงของสภาวะของมัน จึงแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประติมากรรม สถาปัตยกรรมและศิลปะสื่อผสมทัศนศิลป์ประเภทอื่นๆ คือผลงานทัศนศิลป์ที่ไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้อย่างชัดเจน เนื่องด้วยทัศนศิลป์กลุ่มนี้ได้ผสมผสานรูปแบบและวิธีแสดงออกทางศิลป์ที่มีความแปลกใหม่ อาทิเช่น ศิลปะการจัดวาง (Installation Art), มโนทัศนศิลป์ (Conceptual Art) ศิลปะสื่อแสดง (Performance Art) , แฮปแพน นิ่งอาร์ต (Happenings Art)
3. ลักษณะรูปแบบทัศนศิลป์ (Visual Art Sty)
รูปแบบที่แสดงความเป็นจริง(Realisc Form) คือรูปแบบที่ศิลป์ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ตามสภาวะจริงความเป็นจริงของสิ่งนั้น รูปแบบที่แสดงเนื้อความเป็นจริง (Surrealistic Form) คือรูปแบบที่ศิลปินได้ถ่ายทอดเรื่องราวหรือปรากฎการณ์ต่างๆ โดยไม่ยึดถือกฎเกณฑ์หรือความถูกต้องตามความเป็นจริงจากสภาวะสิ่งนั้น ๆ รูปแบบปราศจากเนื้อหา (Non Figurative) คือ ลักษณะรูปแบบของงานศิลป์ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ รูปแบบ เนื้อหาและวิธี ทัศนศิลป์รูปแบบนี้มีวัฒนาการตั้งแต่ปี ค.ศ.1910 โดย วาสิลี แคนดินสกี ศิลปินชาวรัสเซีย ผู้มาสร้างสรรค์ผลงานในเยอรมนีได้สร้างสรรค์ผลงานของตนขึ้น โดยสลัดเนื้อหาของผลงานทิ้งไปจนหมดสิ้น กล่าวคือ ไม่มีเนื้อหาใด ๆ ในผลงานเลยและเรียกผลงายของตนว่า Adstract Art
กลวิธีทัศนศิลป์ (Visual Art Technique) หมายถึง กระบวนการสร้างงานทัศนศิลป์ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนประกอบ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
4. โครสร้างงานทัศนศิลป์
เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญอย่างหนึ่ง สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม แต่ละสิ่งล้วนประกอบจากส่วนประกอบย่อย ๆ ซึ่งจะต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกิดจากการประกอบกันของมนุษย์ในการสร้างสรรค์เป็นผลงาน แต่องค์ประกอบทั้ง 2 ลักษณะต่างมีความสัมพันธ์กันทางธรรมชาติ เช่น องค์ประกอบของมนุษย์จะเป็นอวัยวะเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่ ศีรษะ ลำตัว แขนขา ฯลฯ ส่วนคอนกรีตประกอบไปด้วย ซีเมนต์ ทราย กรวด และน้ำที่ผสมกันตามอัตราส่วน ซึ่งเป็นการประกอบกันของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ได้รับความงามจากธรรมชาติไม่เพียงพอ หรือมนุษย์อยากจะเอาชนะธรรมชาติ หรืออยากกลอกเลียนแบบความงามของธรรมชาติ มนุษย์จึงได้คิดสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่ โดยเอาสิ่งต่างๆ ที่ อยู่ในธรรมชาติ เช่น สี แสง เงา พื้นผิว ฯลฯ มาประกอบกันแล้วจัดรูปแบบเสียใหม่ให้เป็นไปตามที่มนุษย์ต้องการ เพื่อสนองความต้องการของตนเองและ เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สิ่งที่มนุษย์นำมาจากธรรมชาติแล้วจัดทำใหม่นี้เอง คือองค์ประกอบศิลป์และเมื่อประกอบเสร็จสมบรูณ์ มีความกลมกลืนสวยงาม และอาจนำไปใช้สอยให้เกิดประโยชน์ อันนี้เรียกว่างานศิลปะ สำหรับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความรู้สึกของมนุษย์ ในด้านความงามและเรื่องราว ซึ่งความหมายและเรื่องราวที่จะนำมาสร้างสื่อของความหมายทางทัศนศิลป์เพื่อสร้างอยู่รอบตัวศิลปิน สิ่งที่พบและเห็นที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เป็นวัตถุดิบที่นำมารวบรวมเป็นความคิดและจิตนาการ ถ่ายทอดสร้างสรรค์ ออกมาเป็นผลงานทัศนศิลป์โดยทัศนศิลป์มีองค์ประกอบของสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยตาในลักษณะการมองเห็นได้แก่ การรับรู้ทางการมองเห็น มิติ แขนงจิตกรรม สถาปัตยกรรมทัศนศิลป์แบ่งตามประเภท - การวาดเส้น - จิตกรรม บางครั้งจะแบ่งตามขบวนการทางทัศนศิลป์ เช่น Renaissance, Impressionism, Post-impressionism , Modern Art - การทำภาพพิมพ์ เช่น Old master print , Woodblock painting -การถ่ายภาพ และการสร้างภาพยนตร์ -ศิลปะคอมพิวเตอร์ - ศิลปะทรงรูป (Plastic Arts) เช่นประติมากรรม
5. ความหมายของทัศนธาตุ
ทัศนธาตุทัศนธาตุ หมายถึง ส่วนสำคัญที่รวมกันเป็นรูปร่างของสิ่งทั้งหลายตามที่มองเห็น ได้แก่ จุด เส้น สี แสงเงา สี น้ำหนัก บริเวณว่าง และลักษณะพื้นผิวทัศนธาตุ เป็นส่วนประกอบสำคัญได้แก่ศิลปะที่สามารถนำมาจัดให้ประสารกลมกลืน เกิดเป็นผลงานศิลปะที่มีคุณค่าทางความงาม และ สื่อถึงความหมายตามความคิดของผู้สร้างสรรค์ได้ ทัศนธาตุเกิดขึ้นจากการนำเอาธาตุใดธาตุหนึ่งมาสร้างเป็นรูปร่างของบริเวณว่างขึ้นเมื่อใช้สีระบายลงบนรูปทรงทัศนธาตุจะปรากฎขึ้นทั้งเส้นสี และลักษณะผิว ฉะนั้น การรู้จักสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัวและการรู้จักเลือกสร้างสรรค์งานศิลปะทัศนธาตุ ประกอบด้วย -จุด (Dot) -เส้น (Line) -สี (Color) -รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form) -น้ำหนัก (Value) -บริเวณว่าง (Space) -ลักษณะผิว (Texture)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น