กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

กระบวนการสร้างสรรค์งานออกแบบ


การออกแบบ เป็นความคิดสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อต้องกานสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ โดยการสเก็ตซ์หรือเขียนแบบแล้วทำการอ่านแบบต่อไป เนื่องจากการอ่านแบบเป็นการศึกษาถึงรูปร่างลักษณะรายละเอียดของชิ้นงาน เพื่อต้องการทราบความสัมพันธ์และวัสดุ ตลอดจนการประมาณราคา      การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน แบบที่คิดออกมาอาจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง หรือแบบที่เป็นลักษณะเพื้อฝัน เป็นเพียงนามธรรมก็ได้     หลักทั่วไปก่อนการออกแบบ จะต้องพิจารณาหรือคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้         การออกแบบรูปร่างต่าง  1.    รูปร่าง (Shape) คือ รูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาวไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล   รูปทรงต่างๆ 2.  รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดง ความกว้าง   ความยาวแล้ว ยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วย  เช่น รูปทรงกลม  ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น ให้ความรู้สึกมีปริมาตร  ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้   ค่าน้ำหนัก หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง หลายรูปรวมกัน        3.  ขนาดและสัดส่วน        ขนาด (Dimensions) หมายถึง ลักษณะของวัตถุ ที่จะเขียน คือ มีลักษณะใหญ่เล็ก กว้างยาว ตามที่เรารับรู้ได้ ตามหลักการมองเห็นภาพด้วยสายตา ของเราคือ วัตถุชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน อยู่ใกล้กว่าจะมีขนาด  ใหญ่กว่าวัตถุที่อยู่ไกล ออกไป และยิ่งอยู่ไกลมากเท่าไร ก็ยิ่งเล็กลงไปจนมองไม่เห็น        สัดส่วน (Proportion) หมายถึง การจัดภาพ หรือ การเขียนภาพให้ได้ขนาดและที่สว่างจนเกิดความสมส่วน  ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดความสัมพันธ์กันด้วยดี ในการปฏิบัติงานศิลปะ สัดส่วนมีความสำคัญมากจะต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดเป็นอย่างดีด้วย ขนาดและสัดส่วนมีความสัมพันธ์กับรูปร่าง  รูปทรง เมื่อเรานำรูปร่าง รูปทรง มาจัดองค์ประกอบเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดความรู้สึกดังนี้        - ขนาดใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกกลมกลืน        - ขนาดต่างกัน ให้ความรู้สึกขัดแย้ง
       4. สีสันและความสวยงาม (colour) การออกแบบต้องมีเรื่องการใช้สีเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเพราะสีนั้นมีประโยชน์ด้านความรู้สึก     
                       สีแสด            ให้ความรู้สืึก        ตื่นเต้น
                       สีแสด            ให้ความรู้สืึก        ตื่นเต้น               สีน้ำเงิน          ให้ความรู้สึก        เคร่งขรึม               สีชมพู            ให้ความรู้สึก        อ่อนหวาน 5. ประโยชน์ใช้สอย (Use) การออกแบบนั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย ผลิตผลงานเมื่อออกมาแล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และมีความสอดคล้องกับการใช้งานเช่น ออกแแบบแจกันสำหรับใส่ดอกไม้ ออกแบบโอ่งสำหรับใส่น้ำ เป็นต้น 6. ความประหยัด (Economize) ความประหยัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก การออกแบบต้งอคำนึงถึงทุนที่ใช้ต้องน้อยที่สุด ต้องประหยัดไม่ใช้งบประมาณให้สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ 7. มีคุณค่า (Worthy) การออกแบบต้องเน้นที่การเพิ่มคุณค่า โดยการออกแบบที่มีรายละเอียดเพิ่มผลงาน มีความประณีต เรียบร้อย ความมีคุณค่ามิใช่ที่การตีราคา แต่จะเป็นการประเมินโดยรวมว่า มีคุณค่า 8. การเลือกใช้ วัสดุ อุปกรณ์ (Material) ต้องให้มีความเหมาะสมกับงาน ควรเป็นวัสดุพื้นบ้านและหาได้ง่ายตามท้องตลาด มีมากพอ หาได้ง่าย ราคาถูก และเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน 9. กระประบวนการหรือขั้นตอน (Process) การออกแบบต้องคำนึงถึงความยากง่าย ความสลับซับซ้อนของการดำเนินงานหรือการกระทำด้วยเพราะส่วนจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการทำงาน การลดขั้นตอนกระบวนการทำงานลงได้ก็อยู่ที่การออกแบบด้วยเช่นกัน



pic_gr0036.jpg

การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม

การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม            จิตรกรรม เป็นผลงานทัศนศิลป์แขนงหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องสัมพันธุ์กับการวาดเขียนและระบายสี มีลักษณะทั่วไปเป็นผลงานบนแผ่นพื้น 2 มิติ แต่ใช้กระบวนการเพื่อสร้างภาพลวงตาให้เกิดเป็น 3 มิติ โดยใช้สีชนิดต่างๆ เช่น สีน้ำ สีน้ำมัน สีฝุ่น ฯลฯ เป็นสื่อกลางในการแสดงออกถึงเจตนาในการสร้างสรรค์โดยทั่วไปแล้ว จิตรกรรมมีหลายเรื่องราวที่ศิลปินนิยมนำมาสร้างสรรค์ ได้แก่       1.จิตรกรรมประเภทหุ่นนิ่ง (Still Life)2.จิตรกรรมประเภทภาพทิวทัศน์ (Landscape)3.จิตรกรรมประเภทภาพคน (Portrait)4.จิตกรรมประเภทภาพสัตว์ (Animals)5.จิตรกรรมประเภทเรื่องราวจากศาสนา ประวัติศาสตร์ และวรรณคดี (Religion , History and Literature                                การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำ                การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำ จะต้องมีขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม  เครื่องมือและวัสดุ อุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำ ประกอบด้วย1.กระดาษ (Paper) โดยทั่วไปกระดาษสำหรับสีน้ำจะมีพื้นผิวแตกต่างกัน ทั้งพื้นผิวหยาบและพื้นผิวเรียบ2.ดินสอ (Pencil) และยางลบ (Eraser) ดินสอควรจะใช้เกรดอ่อนๆ3.สีน้ำ (Watercolour) สีน้ำทั่วไปมี 2 เกรด คือ สำหรับนักเรียน และสำหรับศิลปิน สีน้ำจะมีบรรจุภัณฑ์ให้เลือกตามความเหมาะสม 3 ลักษณะ คือ                1.แบบหลอด เป็นที่นิยมกันทั่วไป สีจะมีความชื้นและความแตกตัวได้ดี                2.แบบบรรจุเสร็จในจานสีแบบเป็นก้องแข็ง เหมาะสำหรับการพกติดตัวไปเขียนนอกสถานที่                3.แบบขวด มีลักษณะเป็นโปร่งใส 4.จานสี (Plate)5.พู่กัน (Brush) พู่กันที่ดีต้องมีคุณสมบัติที่ป้ายแล้วมีจังหวะสปริงตัวเล็กน้อย โดยพู่กันมี 2 ลักษณะ คือ พู่กันชนิดกลม และพู่กันชนิดแบน6.ฟองน้ำ (Sponge) เป็นส่วนช่วยในการทาน้ำบนกระดาษที่ได้ผลเร็ว และใช้ในการซับสีที่ไม่ต้องการออก7.ผ้าเช็ดพู่กัน (Clothes)8.ภาชนะใส่น้ำ (Vessel)9.กระดาษสเกตซ์และตัวหนีบ (Board and Clip) กระดาษสเกตซ์จะทำด้วยไม้อัดแผ่นเรียบหรือกระดาษหนาแข็ง10.ขาตั้งเขียนภาพและเก้าอี้นั่ง (Easel and Chari)

Image result for การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม

การสร้างสรรค์งานประติมากรรม

การสร้างสรรค์งานประติมากรรมประติมากรรม                เป็นผลงานศิลปะแบบหนึ่ง ซึ่งมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นด้วยความรู้สึกประทับใจ บัลดาลใจในธรรมชาติ โดยมีนัยในศิลปะเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นรูปทรง 3 มิติกินระวางเนื้อในอากาศประเภทของงานประติมากรรม                ประติมากรรมแบ่งได้ตามรูปลักษณ์ 3 ประเภท ดังนี้1.ประเภทนูนต่ำ สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความคิดทางด้านความงามในการประดับตกแต่งอาคารทาง         ปัตยกรรม เพื่อการสร้างศิลปะรับใช้ศาสนา และสังคมมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาก็ได้สร้างศิลปะเพื่อศิลปะเกิดขึ้น จึงได้มีการสร้างประติมากรรมแบบนูนต่ำขึ้น คือการรับรู้เฉพาะส่วนหน้าเพียงด้านเดียว2.ประเภทนูนสูง คือ จะมีรูปทรงและมวลปริมาตรความนูนสูงขึ้นมาจากฐานรองรับที่เป็นพื้นหลังภาพตั้งแต่ครึ่งหน้าของรูปจริงขึ้นไป3.ประเภทลอยตัว สามารถมองเห็นได้รอบด้านลักษณะงานประติมากรรม                เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นตามชนิดของวัสดุที่มีอยู่หลากหลายทั้งในธรรมชาติและวัสดุที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นขึ้น แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ1.การปั้น โดยใช้วัสดุที่มีเนื้ออ่อน เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน2.การแกะสลัก โดยใช้วัสดุเนื้อแข็ง เช่น ไม้ หิน งาช้าง3. การหล่อ เพื่อให้ได้ผลงานที่คงทนถาวร และเพิ่มจำนวนชิ้นงานตามต้องการ เช่น แม่พิมพ์ต่างๆ4.การประกอบขึ้นรูป คือ สร้างรูปในรูปแบบ 3 มิติ

Image result for การสร้างสรรค์งานประติมากรรม

การสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์

การสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์                ภาพพิมพ์ คือ ร่องรอยที่ทำให้เกิดขึ้นโดยวิธีการพิมพ์ จะต้องกระทำบนวัตถุอันหนึ่งก่อน แล้วจึงกดทับให้ไปติดประทับรอยบนวัสดุอีกอันหนึ่งแบ่งออกตามกระบวนการสร้างสรรค์ได้ 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้1.กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนนูน คือ การสร้างงานภาพพิมพ์ด้วยกรรมวิธีสร้างแม่พิมพ์โดยนำวัสดุที่มีเนื้อแข็งพอสมควรและแกะส่วนที่ไม่ต้องการออก แล้วกลิ้งหมึกพิมพ์ลงบนผิวหนังส่วนนูน เป็นต้น2.กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนร่องลึก คือ สร้างด้วยแผ่นทองแดง เหล็ก หรือสังกะสี ด้วยวิธีการแกะหรือขูดพื้นที่ของวัสดุบางส่วนออกไป แล้วผ่านกระบวนการกรดกัด เป็นต้น3.กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนผิวพื้น คือ การสร้างภาพบนพื้นราบ ผิวหน้าเรียบเสมอกัน4.กรรมวิธีพิมพ์ผ่านช่องฉลุ คือ การพิมพ์ผ่านช่องว่าที่สร้างสรรค์ไว้ เช่น การอัดภาพถ่าย

Image result for การสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์

ศัพท์ทางทัศนศิลป์



คำศัพท์ทางศิลปะนั้นมีคำศัพท์เฉพาะทางมากมาย ดังต่อไปนี้
1.จังหวะ (Rhythm) คือ การจัดวางองค์ประกอบที่ซ้ำกันให้มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน2.ฉากหลัง(Background) คือ ส่วนประกอบของภาพที่ปรากฏให้เห็นว่าอยู่ไกลสุด ซึ่งเป็นส่วนเสริมจุดให้เด่นชัดและสวยงามขึ้น จากส่วนที่สำคัญของงานจิตรกรรม 3 ส่วน 3.ดุลยภาพ/ความสมดุล(Balance) คือ หลักการจัดองค์ประกอบของภาพไม่ให้มีน้ำหนักเอียงไปข้างหนึ่งข้างใดให้รู้สึกมีน้ำหนักเท่าๆกันทั้งสองข้าง โดยใช้เส้น สี องค์ประกอบ แสง-เงาและความใกล้-ไกลในการสร้างดุลยภาพดังกล่าว

   ภาพลายที่มีจังหวะ     ิ  ภาพที่มีความสมดุล

4.ตราสัญลักษณ์(Logotype) คือ เครื่องหมายตราสัญลักษณ์ ซึ่งใช้สื่อความหมายเฉพาะส่วนราชการ มูลนิธิสมาคม บริษัท ห้างร้าน ฯลฯ อาจเป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ หรือทั้งสองอย่างประกอบกัน
     5.ทัศนศิลป์ (Visual Art) คือ งานศิลปะที่สร้างสรรค์โดยมนุษย์และรับรู้จากการมองเห็นได้ด้วยสายตาและการสัมผัส
    6. ภาพทิวทัศน์ทางทะเล (Seascape) คือ ผลงานศิลปะด้านจิตรกรรมวาดเส้น ภาพพิมพ์ ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากเรื่องราวและบรรยากาศของทะเลในเวลาต่างๆกัน
    7. ทัศนียภาพวิทยา (Perspective) คือ งานศิลปะที่เกี่ยวกับการเขียนภาพพื้นระนาบ 2 มิติ ให้ดูเป็นภาพ 3 มิติ หรือแสดงให้เห็นระยะใกล้-ไกลได้
    8. เอกรงค์ (Monochrome) คือ การสร้างงานศิลปะหรือการแตกต่างด้วยสีเพียงสีเดียว โดยทำให้เกิดค่าน้ำหนักของสีต่างกันในบางกรณีอาจใช้สีอื่นผสมด้วย แต่เมื่อมองดูแล้วจะเห็นภาพทั้งหมดเป็นสีเดียวกัน 

Image result for ภาพสีเอกรงค์     ภาพสีเอกรงค์9. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) คือ แฟ้มหรืออัลบั้มที่ใช้รวบรวมผลงานส่วนตัวประกอบด้วยภาพ สไลด์หรือผลงานที่เป็นกระดาษหรือไฟล์ต่างๆที่รวบรวมไว้เพื่อแสดงในเวลานำเสนองานขาย ในเวลาเรียน หรือเวลาสมัครงาน ผ่านการยื่นแฟ้มหรืออาจผ่านทางเว็บไซต์ เพจ อีเมล และสื่ออื่นๆ
    10.ภาพทิวทัศน์ทางบก (Landscape) คือ ศิลปะประเภทงานจิตรกรรม วาดเส้นหรืองานอื่นๆที่แสดงทัศนียภาพของภูมิประเทศที่ปรากฏตามธรรมชาติ ป่าเขา หมู่บ้าน เป็นต้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักการจัดการองค์ประกอบศิลป์

ธาตุทางทัศนศิลป์