ศิลปะกับคอมพิวเตอร์


ศิลปะกับคอมพิวเตอร์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Computer Art หมายถึง งานศิลปะอันเกิดจากการผลิตของเครื่องคอมพิวเตอร์ใน ค.ศ. 1935 อลัน ทูริ่ง ได้สร้างจักรกลการคำนวณขึ้นเรียกว่า ทูริ่ง แมธธีน ซึ่งมุ่งเน้นการคำนวณต่อมาทูริ่งได้พัฒนามาเป็นคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ACE (Automatic Computing Engine)   ในยุคแรกคอมพิวเตอร์เริ่มใช้หลอดสูญอากาศแทนวงจรในการคำนวณ ต่อมาในทศวรรษที่ 1950 ได้มีการสร้างซีสเตอร์ที่มีขนาดเล็กแทนหลอดสูญอากาศ ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคนั้น  มีขนาดเล็ก การทำงานของคอมพิวเตอร์จึงมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ทางด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการแพทย์ ด้านทหาร ในด้านศิลปะได้ปรากฏแก่สายตาครั้งแรกในการเปิดตัวของงานนิทรรศการคอมพิวเตอร์กราฟิก ต่อมา มีเซล นอล ได้ผลิตศิลปะคอมพิวเตอร์ขึ้นได้เข้าร่วมการแสดงศิลปะคอมพิวเตอร์ในนครนิวยอร์ก งานของเขาได้แสดง รู)โค้งที่ซ้ำๆ กัน ซึ่งงานของเขามีลักษณะคล้ายกับงาน OPARE หรือการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต่อเนื่องกันซึ่งคอมพิวเตอร์มีบทบาทในทุกๆ วงการของสังคม และบทบาทที่สำคัญ คือ ด้าน ที่เกี่ยวศิลปะเป็นด้านการประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างงานศิลปะทั้งด้านวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ที่มีตั้งแต่งานด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรี ด้านศิลปะการแสดง ด้านสถาปัตยกรรม รวมถึงด้านนันทนาการด้วย การประยุกต์สร้างงานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์มีจุดเด่น คือ ช่วยให้ศิลปะสามารถออกแบบต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แบบที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์จะมีความแปลกตา น่าสนใจ เพราะสามารถสร้างได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการสร้างเสียงต่างๆประกอบในผลงานศิลปะได้อีกด้วย

ภาพศิลปะจากคอมพิวเตอร์


รูปภาพที่เกี่ยวข้องการวาดภาพในปัจจุบันนี้ใครๆ ก็สามารถวาดได้แล้วโดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี แต่ละใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทนภาพที่วาด ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกนี้เราสามารถกำหนดสี แสง เงา รูป แบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์หลายขึ้นก็เป็นงานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือเราสามารถแก้ไขเพิ่มเดิมส่วนที่ต้องการได้ง่าย นอกจากนี้เรายังสามารถนำภาพต่างๆ เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) แล้วนำภาพเหล่านั้นมาแก้ไข

ภาพยนตร์การ์ตูนและภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ หรือภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคพิเศษต่าง ๆ ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว(Computer Animation) มากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายกว่าวิธีอื่น ๆ นอกจากนี้ภาพที่ได้ยังดูสมจริงมากขึ้น เช่น ภาพยานอวกาศที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยให้ภาพที่อยู่ในจินตนาการของมนุษย์สามารถนำออกมาทำให้ปรากฏเป็นจริงได้ภาพเคลื่อนไหวจึงมีประโยชน์มากทั้งในระบบการศึกษา การอบรม การวิจัย และการจำลองการทำงาน เช่น จำลองการขับรถ การขับเครื่องบิน เกมคอมพิวเตอร์หรือวีดีโอก็ใช้หลักการทำภาพเคลื่อนไหวในคอมพิวเตอร์การฟิกเช่นกัน


การออกแบบกราฟิก

รูปภาพที่เกี่ยวข้องการกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ต้องการสัมผัสรับรู้ด้วยตา ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร วารสาร แผ่นป้าย บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ โฆษณา ภาพยนตร์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและวิธีการทางการออกแบบร่วมกันสร้างรูปแบบสื่อ เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อความหมายระหว่างผู้สงสารและผู้รับสาร วิธีการออกแบบและวิธีแก้ปัญหาการออกแบบ โดยการนำเอารูปภาพประกอบ ภาพถ่าย สัญลักษณ์ รูปแบบ ขนาดตัวอักษรมาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างขัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการสื่อความหมายความหมายของการออกแบบกราฟิกเป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติเป็นสื่องกลางสำหรับถ่ายทอดข้อความความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ งานกราฟิกมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาจะโน้มน้าวจิตใจได้ดีกว่าการรับรู้ประเภทอื่น งานกราฟิกที่ดีต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ดีด้วย นับตั้งแต่หลักการเบื้องต้นของศิลปะ รวมถึงการเลือก ใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการผลิต วัสดุกราฟิก นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะสามารถพัฒนางานออกแบบให้ทันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ระบบคอมพิวเตอร์กับการออกแบบงานกราฟิก

รูปภาพที่เกี่ยวข้องในยุค ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันมากเสีย จน แทบกล่าวได้ว่า ถ้าเป็นบุคคลวัยหนุ่มสาว หรือคนยุค Generation X และ Y จะคลุกคลีกับคอมพิวเตอร์แทบทุกวัน ไม่ว่าจะใช้เพื่อการเรียน การทำงาน การค้นคว้าหาข้อมูล การตกแต่งภาพ การเล่นเกม หรือเรียกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่ถูกบรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีให้เลือกใช้อย่างมากมาย ดังนั้น คงจะมีสักวันที่เราใช้คอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบชิ้นงานที่ต้องการ จากความสามารถของโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการออกแบบที่บรรจุอยู่ภายในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้งานออกแบบรูปภาพ การ์ตูน งานพิมพ์ เป็นได้อย่างง่ายดาย สะดวกและรวดเร็ว ตามความนิยมของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานต่างๆ สืบเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง ทำให้ง่ายต่อการคอบครองเป็นเจ้าของ ในขณะที่โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ถูกลงเรื่อย ๆ และมีการพัฒนาขีดความสามารถให้รองรับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน สำหรับประเด็นที่อยากนำมาบอกเล่าในวันนี้ ก็คือ ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งจะเริ่มแนะนำตั้งแต่ประวัติความเป็นมา คอมพิวเตอร์กับการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น 2 มิติหรือ 3 มิติ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้งานดังกล่าวในอดีตการสร้างภาพกราฟิกทำได้โดยใช้ดินสอ  ปากกา  หมึก  สี  เขียนบนสื่อ  เช่น  ผนังถ้ำ  ไม้ไผ่  ผ้า  หรือกระดาษ  แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพกราฟิก  ทำให้ได้ภาพกราฟิกที่งดงามมีคุณภาพและทำได้ง่าย  จะเห็นได้ว่า  การใช้คอมพิวเตอร์ทำงานกราฟิกเป็นไปอย่างกว้างขวาง  เช่น  การโฆษณา  สิ่งตีพิมพ์  ภาพยนตร์  เกม  การออกแบบผลิตภัณฑ์  การแสดงผลข้อมูล  การแสดงภาพทางการแพทย์ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิกนั้นสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดย ทั่วไปได้  โดยมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์บางประการให้กับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการประมวลผล  การนำเข้าข้อมูล  การแสดงผลข้อมูลแบบกราฟิก  ในบทนี้จะกล่าวถึงความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก  ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับงานกราฟิก

องค์ประกอบในการออกแบบงานกราฟิกและสื่อ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ องค์ประกอบในการออกแบบงานกราฟิกและสื่อส่วนสำคัญที่จะสร้างสรรค์ความสุนทรีย์บนงานออกแบบ มีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ1. อักษรและตัวพิมพ์ตัวอักษรจะทำหน้าที่เป็นส่วนแจกแจงรายละเอียดของข้อมูล สาระที่ต้องการนำเสนอด้วยรูปแบบและการจัดวางตำแหน่งอย่างสวยงาม มีความชัดเจน การออกแบบ การเลือกแบบตลอดจนการกำหนดรูปแบบของตัวอักษรที่จะนำมาใช้ ต้องมีลักษณะเด่น อ่านง่าย สวยงาม น่าสนใจ ลักษณะที่แตกต่างของตัวอักษร จึงต้องกำหนดตามสภาวะการนำไปใช้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง หรือชื่อสินค้า จะต้องเน้นความโดดเด่นของรูปแบบมากที่สุดและส่วนที่เป็นข้อความหรือเนื้อหา ที่ต้องการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ นิยมใช้ตัวอักษรที่มีรูปแบบเรียบง่ายสะดวกในการอ่านมากที่สุดในการเลือกใช้ตัวอักษรให้มีความเหมาะสมกับงานที่ออกแบบ ผู้ออกแบบควรได้พิจารณาถึงรูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร รูปร่างลักษณะของตัวอักษร การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง การกำหนดสี และการจัดวางตำแหน่งให้มีความสมดุลเหมาะสมพอดี2. ภาพและส่วนประกอบตกแต่งภาพภาพและส่วนประกอบตกแต่งภาพ ที่ต้องการเน้นให้เกิดคุณค่าทางความงาม ซึ่งจะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบ และนำเสนอแนวคิดให้เป็นรูปธรรมดาตามความคิดของตน เพื่อต้องการให้เกิดประสิทธิผลในการสื่อสารมากที่สุดงานออกแบบที่ดีควรนำภาพมาใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสและหน้าที่อย่างกลมกลืน คือ2.1 เมื่อต้องการดึงดูดความสนใจ2.2 เมื่อต้องการใช้ประกอบการอธิบายความรู้2.3 เมื่อต้องการคำอธิบายความคิดรวบยอด2.4 เมื่อต้องการอ้างอิงสิ่งที่ปรากฏขึ้นจริง2.5 เมื่อต้องการใช้ประกอบข้อมูลทางสถิติ การจัดองค์ประกอบของงานกราฟิก1.จัดให้เป็นเอกภาพในที่นี้หมายถึง สิ่งที่ช่วยทำให้ชิ้นงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ้งต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์นั้นๆ ความเป็นเอกภาพจะครอบคลุมถึงเรื่องของความคิดและการออกแบบ2.ความสมดุลความสมดุลในงานกราฟิกเป็นเรื่องของความงาม ความน่าสนใจ เป็นการจัดสมดุลกันทั้งในด้านรูปแบบและสี มีอยู่ 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ-ความสมดุลในรูปทรงหรือความเหมือนกันทั้ง 2 ด้าน คือเมื่อมองดูภาพแล้วเห็นได้ทันทีว่าภาพที่ปรากฎนั้นเท่ากัน ลักษณะภาพแบบนี้จะทำให้ความรู้สึกที่มั่นคง เป็นทางการ แต่อาจทำให้ดูน่าเบื่อได้ง่าย ความสมดุลในความรู้สึก หรือความสมดุลที่สองข้างไม่เหมือนกัน เป็นความแตกต่างกันทั้งในด้านรูปแบบ สี หรือพื้นผิว แต่เมื่อมองดูโดยรวม ขะเห็นว่าเท่ากัน ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ความสมดุลในลักษณะนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหว แปรเปลี่ยน ไม่เป็นทางการ และไม่น่าเบื่อ3. การจัดให้มีจุดสนใจภายในเนื่อหาที่จำกัดจะต้องมีการเน้น การเน้นจะเป็น ณ จุดใดจุดหนึ่งที่เห็นว่ามีความสำคัญ อาจทำได้ด้วยภาพหรือข้อความก็ได้ โดยมีหลักว่า ความคิดเดียวและจุดสนใจเดียวการ มีหลายความคิด หรือมีจุดสนใจหลายจุด จะทำให้การออกแบบเกิดความล้มเหลวเพราะหาจุดเด่นชัดไม่ได้ ภาพรวมจะไม่ชัดเจน ขาดเอกลักษณ์ของความเป็นผู้นำในตัวชิ้นงานสำหรับวิธีการที่จะทำให้มีจุดสนใจอาจเน้นด้วย สี ขนาด สัดส่วน และรูปร่างที่แปลกไปกว่าส่วนอื่นๆในภาพ ส่วนตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางจุดสนใจนั้นสามารถกระทำได้ดังนี้นำภาพมาแบ่งเป็น 3 ส่วน บริเวณที่เส้นตัดกันนั้นก็คือ ตำแหน่งที่เหมาะสม จากผลการวิจัยหลายๆครั้ง พบว่า ตรงจุดตัดกันที่มุมบนซ้ายนั้นเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุด เหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนก็คือ ในการอ่านหนังสือนั้น เรามักอ่านจากมุมซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง ฉะนั้น ตำแหน่งนี้จะเป็นจุดแรกที่สายตาเรามอง เพื่ออ่านหรือดูภาพบนแผ่นภาพนั้นเอง


งานกราฟิกกับคอมพิวเตอร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานกราฟิกกับคอมพิวเตอร์

 ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน  ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่มีความสามารถในด้านการคำนวณตัวเลขจำนวนมากเสร็จสิ้นภายในเวลาอันสั้นและเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก  สามารถใช้ติดต่อสื่อสารเป็นเครือข่ายวงกว้างทั่วโลก  นอกจากนี้ราคาของคอมพิวเตอร์ก็ถูกลง  โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์  ทำให้มีการใช้งานแพร่หลายเกือบทุกวงการ  และเมื่อนำมาใช้ในงานกราฟิกทำให้สามารถสร้างงานกราฟิกได้รวดเร็ว  มีคุณภาพ และมีปริมาณมาก  ง่ายต่อการนำไปใช้  งานกราฟิกที่ได้ยังสามารถใช้เผยแพร่ได้สะดวกกว้างไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ความนิยมใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิกจึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในกิจกรรม ดังนี้
1. งานนำเสนอข้อมูล
ในการนำเสนอข้อมูลหากข้อมูลที่นำเสนอมีเฉพาะ  ข้อความ  ตัวเลขหรือตารางจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อหน่ายและอาจสื่อความเข้าใจได้ยาก  ดังนั้นจึงนิยมใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้างภาพกราฟิกเพื่อการนำเสนอข้อมูล  เช่น  รายงานสรุปการเงิน  คะแนนนักเรียน  จำนวนประชากร  ซึ่งสามารถทำเป็นรูป  กราฟวงกลม  กราฟเส้น  กราฟแท่ง  เพื่อแสดงถึงปริมาณหรือความสัมพันธ์ของค่าต่าง ๆ  ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลลักษณะนี้  ดังรูป 2. งานออกแบบ
 คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างภาพกราฟิกเพื่ออกแบบทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม  การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Aided Design : CAD) นั้นได้ถูกใช้งานอย่างมากในการออกแบบสิ่งก่อสร้าง  รถยนต์  เครื่องบิน  ยานอวกาศ  รวมทั้งการออกแบบคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่  ซึ่งมักจะถูกออกแบบในคอมพิวเตอร์ก่อนแล้วจึงนำมาสร้างจริงในภายหลัง  หน้าจอของโปรแกรมในลักษณะนี้มักจะประกอบด้วยรายการเลือก  หน้าต่าง  และภาพอุปกรณ์ที่กำลังออกแบบดังตัวอย่างในรูป
ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ คือ
             1)  การออกแบบทำได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการป้อนข้อมูลทำได้ง่ายด้วยความช่วยเหลือของส่วนตอประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (graphical  user interface : GUI)
             2)  ผู้ใช้สามารถมองเห็นงานที่ออกแบบได้โดยไม่ต้องสร้างต้นแบบจริงทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
             3)  ลดจำนวนการสร้างต้นแบบเพื่อการทดสอบลง  เนื่องจากผู้ใช้สามารถจำลองสภาวะการทำงาน ต่าง ๆ  เพื่อการทดสอบชิ้นงานได้  เช่น  ทดลองเครื่องบินในอุโมงค์ลมจำลองเพื่อดูพฤติกรรมของเครื่องบิน
             4) ช่วยให้สามารถออกแบบงานที่มีความซับซ้อนสูงมากซึ่งมนุษย์จะไม่สามารถทำได้โดยปราศจากคอมพิวเตอร์  เช่น  การสร้างชิ้นส่วนอุปกรณ์  แรออกแบบทางสถาปัตยกรรม  การออกแบบวงจรรวม ( Integrated Circuit : IC)
 3. งานสร้างภาพนามธรรม
 คอมพิวเตอร์ใช้ข้อมูล  วิธีการทางคณิตศาสตร์  และวิธีการสร้างภาพกราฟิก  สร้างภาพ นามธรรมซึ่งเป็นภาพกราฟิกที่ไม่มีจริงในธรรมชาติหรือภาพที่โดยปกติมีความยากหรือเป็นไปไม่ได้ที่จะมองเห็นหรือเฝ้าสังเกตได้  เช่น  ภาพในภาพยนตร์ที่นักแสดงในปัจจุบันปรากฏตัวร่วมกับบรรดาบุคคลสำคัญของโลกในอดีตหรือตัวการ์ตูน  ภาพห้วงอวกาศ  ภาพการเต้นของหัวใจจากมุมมองต่าง ๆ  ภาพการเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูก  ภาพนามธรรมมีประโยชน์อย่างมากต่องานบันเทิง  การแพทย์  วิทยาศาสตร์ และงานอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน การตรวจรักษาโรคของแพทย์ใช้ภาพนามธรรมที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นเพื่อซ่อมแซมอวัยวะที่ผิดปกติหรือชำรุด  โดยการสร้างภาพนามธรรมของอวัยวะที่ตรวจและอาจสร้างภาพนามธรรมของอวัยวะปกติซ้อนทับไว้  แพทย์จะสามารถตรวจค้นพบความผิดปกติของอวัยวะโดยการหมุนดูภาพนามธรรมนี้ในมุมต่าง ๆ  และเมื่อจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อให้การรักษา  ในขณะผ่าตัดแพทย์สามารถมองเห็นภาพนามธรรมของอวัยวะที่กำลังผ่าตัดได้ทุกแง่ทุกมุมช่วยให้การผ่าตัดสะดวกและถูกต้อง  ในการผ่าตัดตบแต่งใบหน้าของผู้ประสบอุบัติเหตุ  ศัลยแพทย์สามารถสร้างภาพนามธรรมใบหน้าของผู้ป่วยขึ้นก่อน  แล้วดำเนินการผ่าตัดไปตามที่กำหนด4. งานด้านศิลปะ การสร้างงานด้านศิลปะนับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษยชาติ  ศิลปินสามารถใช้สื่อต่าง ๆ ในการถ่ายทอดจินตนาการ  อารมณ์  ความรู้สึกสู่ผู้ชมงานศิลปะนั้น  คอมพิวเตอร์นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างภาพกราฟิกเพื่อสื่อความหมาย  เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการนำเสนอได้มาก การสร้างงานศิลปะอาจทำได้ตั้งแต่การวาดภาพโดยใช้โปรแกรมวาดภาพ  ที่มีเครื่องมือให้สามารถใช้เมาส์แทนการใช้พู่กันและสี  ในบางโปรแกรมสามารถปรับความหนักเบาของเส้นมาช่วยทำให้การวาดภาพเป็นธรรมชาติขึ้น  บางโปรแกรมสามารถปรับแต่งภาพถ่าย  มาเป็นภาพวาดสีน้ำ  สีน้ำมัน  หรือแบบอื่น ๆ ได้  และยังรวมความสามารถในการเลือกพื้นผิวสำหรับวาดภาพด้วยเช่นตัวอย่างในรูปในงานศิลปะการละคร  ฟิล์มภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์สามารถบันทึกภาพการแสดงได้  แต่ไม่สามารถเก็บรายละเอียดท่าทางของตัวละครแต่ละตัว  การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกจะทำให้ผู้กำกับการแสดงสามารถวิเคราะห์ออกแบบท่าทางของนักแสดง  กำกับบทบาทของตัวละครแต่ละคนบันทึกเป็นข้อมูล  กำหนดฉาก  แสง  แล้วแสดงเป็นภาพการแสดงรวม  ซึ่งสามารถตรวจสอบแก้ไขรายละเอียดทุกส่วน  และนำไปสู่บทบาทการแสดงจริงบนเวที  คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับงานศิลปะการละครจะมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับคอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยในการออกแบบ5. งานสำรวจอวกาศ
  ในการสำรวจอวกาศจากนอกโลก  คอมพิวเตอร์ในยานสำรวจจะบันทึกภาพต่าง ๆ เช่น  ดาวอังคาร  ดวงจันทร์  ดาววีนัส  กาแลคซี่ต่าง ๆ เป็นข้อมูลทางดิจิทัลแล้วส่งกลับมายังฐานบนโลกซึ่งจะเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลมาเป็นภาพกราฟิก  ผู้เชี่ยวชาญทางกราฟิกจะวิเคราะห์ภาพโดยใช้เทคนิคเพิ่มคุณภาพของภาพ  ซึ่งจะทำการปรับภาพตามเงื่อนไขของตัวบ่งชี้พื้นผิว เทคนิคการเพิ่มคุณภาพของภาพสามารถเติมข้อมูลที่ผิดพลาดโดยการตรวจสอบจุดภาพข้างเคียงส่วนที่ผิดพลาดแล้วคาดการว่า  ข้อมูลภาพที่หายไปหรือไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร  ความเข้มแสงบนภาพได้รับการปรับให้ดีขึ้น  โดยใช้ข้อมูลที่มาจากข้อกำหนดของอุณหภูมิ  ความหนาแน่นของอากาศ  และชั้นบรรยากาศต่าง ๆ  เทคนิคการเพิ่มคุณภาพของภาพสามารถปรับภาพสีเทาเป็นภาพสีได้ 6. งานพยากรณ์อากาศ ภาพแผนที่อากาศและคำพยากรณ์อากาศที่ปรากฏในข่าวทางทีวีในแต่ละวันเป็นงานที่เกิดจากรวบรวมข้อมูลความกดอากาศ  อุณหภูมิ  ความชื้นสัมพัทธ์  ความเร็วลม  และทิศทางลมของกรมอุตุนิยมวิทยาจากหลายพื้นที่  โดยใช้ข้อมูลจากการมองเห็น  ภาพสำรวจผ่านดาวเทียม  สัญญาณจากเรดาร์  เครื่องวัดภาคพื้นดิน  เครื่องมือวัดจากบัลลูนอากาศ  แล้วป้อนเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่แหล่งเก็บข้อมูลนั้น ๆ จากนั้นข้อมูลจำนวนมากมายนี้จะถูกส่งต่อมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์กรมอุตุนิยมวิทยา  กรุงเทพฯ  ซึ่งจะทำการคำนวณด้วยความเร็วสูงเพื่อจำลองสภาพของอากาศ  ผลที่ได้จะเป็นภาพกราฟิกที่เป็นภาพแผนที่อากาศและข้อมูลสำหรับพยากรณ์อากาศ7. งานกีฬา
 ในสนามกีฬาหลายแห่งจะมีกระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์  สำหรับให้ข้อมูลและสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมโดยแสดงภาพกราฟิก  เช่น  สถิติและคะแนนการแข่งขัน  ย้อนภาพการแข่งขัน  แสดงภาพเคลื่อนไหว  แสดงความยินดีและเป็นกำลังใจให้นักกีฬาเสนอเกร็ดกีฬา ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬา  ผู้ควบคุมการฝึกสอนกีฬาสามารถใช้โปรแกรมทางกราฟิก  เช่น  การนำภาพการเคลื่อนไหวร่างกายของนักกีฬาขณะวิ่งเก็บบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่องกราดตรวจพิเศษหรือดิจิไทเซอร์  แล้วสร้างโครงร่างกายขณะเคลื่อนไหวเป็นภาพกราฟิก  รูปแบบที่สร้างขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบกับผลการวิ่งของนักกีฬาคนอื่น  ทำให้สามารถพัฒนารูปแบบการวิ่งและวิธีการเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬาได้

ประเภทของงานออกแบบกราฟิกและสื่อ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานออกแบบกราฟิกและสื่อการออกแบบกราฟิกในงานใดๆ ก็ตามย่อมมีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่แตกต่างกัน ลักษณะเฉพาะหรือเงื่อนไขต่างๆของงานและวิธีการดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับปัจจุบันทุกด้าน ในการสร้างงานออกแบบจึงควรศึกษาถึงองค์ประกอบสำคัญหลายๆด้าน แนวทางในการคิดงานกราฟิก จะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของสื่อหรืองานแต่ละประเภทที่มีข้อกำหนดเฉพาะ ซึ่งพอที่จะจัดหมวดหมู่ออกได้ดังนี้1.งานกราฟิกบนสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์1.1แผ่นป้ายโฆษณา (Poster)
-ต้องเป็นแผ่นโดดๆซึ่งสามารถปะติดลงบนพื้นผิวใดก็ได้-ต้องมีข้อความประกอบเสมอ-ต้องปิดไว้ในที่สาธารณะ-ต้องผลิตขึ้นมาเป็นจำนวนมากโปสเตอร์ที่ดีควรจะสนองแนวคิดหลัก 5 ประการ ได้แก่1)จะต้องตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างเต็มที่2)จะต้องมีความชัดเจนในภาพลักษณ์และข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายต้องมีความกระจ่าง มีขนาดที่พอเหมาะกัน3)รูปภาพและข้อความที่นำเสนอควรให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์และส่งเสริมซึ่งกันและกัน4)จะต้องสามารถเข้าใจ ดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด5)ต้องมีความกะทัดรัดและแสดงแนวคิดหลักเพียงอย่างเดียวการออกแบบโปสเตอร์-การกำหนดขนาด-การกำหนดรูปภาพประกอบการกำหนดตัวอักษรตัวอักษรข้อความหรือตัวอักษรหัวเรื่องที่จะต้องกำหนดลงในงานออกแบบกราฟิก จะทำหน้าที่บรรยายข้อมูลสาระให้รับรู้การกำหนดตัวอักษรจึงต้องเน้นหนักที่ขนาดของตัวอักษร รูปแบบ และการกำหนดโครงสีบนตัวอักษรทั้งหมด1.ขนาดของตัวอักษร2.รูปแบบตัวอักษร3.สีของตัวอักษร3.1)ค่าน้ำหนักของสี3.2)สีของตัวอักษรต้องไม่หลายสีเกินไปภายในหนึ่งหน้ากระดาษ3.3)ควรใช้สีให้เหมาะกับคำหรือข้อความนั้นๆ1.2แผ่นพับ ( Folders)
สื่อโฆษณาประเภทนี้จัดว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดไดเร็คเมลล์ (Direct Mail) ที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าจะส่งตรงถึงผู้บริโภคทั้งวิธีการทางไปรษณีย์ และการแจกตามสถานที่ต่างๆ ลักษณะเด่นของแผ่นพับก็คือมีขนาดเล็ก หยิบถือได้สะดวก สามารถให้ข้อมูลรายละเอียดได้มาก ผู้ดูสามารถเลือกเวลาใดก็ได้ในการหยิบขึ้นมาอ่าน ผู้ออกแบบมีเทคนิคในการออกแบบได้อย่างอิสระ หลากหลายและสวยงาม ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำ จุดเด่นคือสามารถเลือกแจกได้ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ ทำให้สื่อที่ผลิตขึ้นถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริงวิธีการออกแบบแผ่นพับมีลักษณะเด่นคือสามารถพับได้หลายแบบ การพับแบบต่างๆทำให้ภาพลักษณ์ของสื่อเปลี่ยนแปลงไป แผ่นพับเมื่อพับแล้วจะมีหลายหน้าอย่างน้อย 4 หน้า และสามารถพับได้ถึง 80 หน้า แต่ส่วนใหญ่แล้วนิยมพับอย่างมาก 16 หน้า เนื่องจากจำนวนหน้าเกิดจากการแบ่งกระดาษด้วยการพับ จึงมักไม่นิยมใส่เลขหน้า ในการออกแบบกราฟิกจึงต้องพิจารณาถึงขนาดของข้อมูลอย่างชัดเจน ต้องแสดงลักษณะเฉพาะแต่ละหน้า และความสัมพันธ์ระหว่างหน้าอื่นๆที่จะพับมาต่อกันด้วย ถ้าผู้ออกแบบแบ่งสาระข้อมูลไม่ดี หรือวางหน้าไม่เหมาะสมจะทำให้ผู้ดูเกิดความสับสนในการอ่านเพราะลักษณะเฉพาะของแผ่นพับอาจทำให้ผู้ดูเปิดพลิกไปไม่ได้ การออกแบบที่ดีมักจะให้ข้อมูลแต่ละหน้าจบในตัวของมันเอง และสามารถเริ่มอ่านตรงส่วนใดก่อนก็ได้
1.3แผ่นปลิว ( Leaflets ) เป็นสื่อที่มีค่าใช้จ่ายในการผลิตราคาถูกที่สุด รูปแบบละลีลาของการออกแบบนำเสนอสาระข้อมูลของแผ่นปลิวไม่มีข้อจำกัดตายตัว จากการที่มีลักษณะของการผลิตที่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ทำให้สามารถผลิตขึ้นได้ครั้งละจำนวนมาก จึงได้รับความนิยมในการนำมาเป็นสื่อในการสื่อสารเพื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางทั้งในรูปแบบของการแจกโดยบุคคล หรือวิธีการใช้เฮลิคอปเตอร์โปรยสู่กลุ่มประชาชน ซึ่งทำให้ได้รับความสนใจได้มาก ขนาดของแผ่นปลิวมีขนาดไม่แน่นอนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ1.4บัตรเชิญ ( Cards ) บัตรเชิญเป็นสื่อโฆษณาอีกประเภทที่มีบทบาทในวงการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การออกแบบกราฟิกทางด้านบัตรเชิญดำเนินไปอย่างกว้างขวาง นักออกแบบจะพยายามสร้างรูปแบบแปลกใหม่ที่จะท้าทายให้ผู้ได้รับเชิญเกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น อยากสัมผัส บัตรเชิญเรียกได้ว่าสื่อเฉพาะกิจจะใช้ในโอกาสสำคัญๆ เช่น เชิญเปิดร้าน เชิญปิดกิจการ เปิดนิทรรศการ การแสดงต่างๆ หรือการโชว์สินค้า2.งานกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์บรรจุภัณฑ์มีหน้าที่หลักคือเป็นตัวภาชนะสำหรับบรรจุสินค้า มีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของสินค้า เช่น เป็นหีบห่อ เป็นกล่อง เป็นขวด เป็นลัง เป็นกระป๋อง ฯลฯ การออกแบบบรรจุภัณฑ์แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่มตามลักษณะหน้าที่ดังนี้1)บรรจุภัณฑ์สำหรับการค้าปลีก2)บรรจุภัณฑ์เพื่อการค้าส่ง3)บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งการออกแบบฉลากสินค้าฉลากสินค้าจะติดมากับตัวสินค้าที่บรรจุมาในรูปขวด กล่อง ห่อ กระป๋อง หรือรูปแบบอื่นตามลักษณะและประเภทของสินค้า ฉลากสินค้าจะช่วยให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงรายละเอียดต่างเกี่ยวกับสินค้านั้นอย่างมาก ในบางครั้งฉลากสินค้าจะช่วยให้สามารถสมมารถตัดสินใจเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าได้ รายละเอียดที่ปรากฏบนฉลาก ได้แก่ ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อบริษัท ที่อยู่ของผู้ผลิต ประเภท ชนิด สี ของวัสดุที่ใช้ ขนาดน้ำหนักหรือปริมาตร ส่วนผสม วิธีใช้ หรือสรรพคุณวิธีการออกแบบการออกแบบฉลากจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขหลายอย่าง นักออกแบบจะสร้างภาพลักษณ์ของตัวสินค้าให้เกิดความน่าเชื่อถือ ความสวยงาม โดยการออกแบบกราฟิกบนตัวฉลากสินค้าที่สอดคล้องกับลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ฉลากสินค้าบางอย่างมีเพียงเฉพาะข้อความเท่านั้น บางอย่างมีรูปภาพประกอบอย่างสวยงาม

3.งานกราฟิกบนสิ่งพิมพ์ทั่วไป

1.การออกแบบปกหนังสือ ( Cover Design) มีหลักที่จะต้องพิจารณาก่อนดำเนินการดังนี้

1.1)พิจารณาถึงประเภทของหนังสือ1.2)พิจารณาถึงบุคลิกของหนังสือ1.3)พิจารณาถึงแนวทางสร้างสรรค์รูปแบบ1.4)พิจารณาถึงวิธีการผลิต1.5)พิจารณาถึงวัสดุที่ใช้ทำปก2.การออกแบบจัดหน้า ซึ่งพอจะแบ่งได้ตามลักษณะและขนาดออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และหนังสือสำหรับเด็ก2.1)หนังสือพิมพ์ คือ การรวบรวมเรื่องราว ภาพข่าว บทวิเคราะห์ สาระเกร็ดความรู้ และการโฆษณาต่างๆ ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน*วิธีการจัดหน้าคือ หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับประกอบด้วย ส่วนของข้อความพาดหัวข่าว เนื้อข่าว ภาพข่าว และส่วนโฆษณา ในกระบวนการจัดหน้าจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบรัดกุม เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามกำหนดรายวัน2.2)นิตยสาร คือ สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีความแตกต่างจากหนังสือพิมพ์หลายลักษณะ ตั้งแต่ลักษณะเนื้อหา ขนาดรูปเล่ม ระบบการพิมพ์นิตยสารต้องการนำเสนอเนื้อหาทางด้านวิชาการ บทวิเคราะห์ บทความ แนวคิด การบันเทิง การกีฬา ฯลฯ นิตยสารจะไม่มุ่งไปที่ความสดใหม่ของข่าวสาร แต่จะเน้นด้านประโยชน์และสาระบันเทิงมากกว่า *จุดมุ่งหมายของการจัดหน้า1.เพื่อสร้างความสนใจให้กับผู้อื่น2.เพื่อให้อ่านง่ายดูง่าย3.รูปแบบและขนาด*วิธีการจัดหน้า คือ ผู้ออกแบบหรือนักจัดหน้าควรเอาใจใส่ตั้งแต่ปกด้านในไปจนถึงปกหลังด้านใน การออกแบบโครงร่างของการจัดหน้าผู้ออกแบบต้องคิดเสมอว่าข้อมูลทุกๆหน้าจะต้องมีความสมบูรณ์ทุกด้านต้องมีเอกภาพทั้งหน้าเดี่ยวและหน้าคู่ การออกแบบต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่างหน้าต่อหน้าทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวาหรือด้านหน้าและด้านหลัง2.3)หนังสือสำหรับเด็กเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยโน้มน้าวให้เด็กๆเกิดความสนใจในเนื้อหา เกิดความเพลิดเพลินในการเรียนรู้โดยไม่ตั้งตัว การออกแบบจัดหน้ารูปเล่มและภาพประกอบจึงมีความสำคัญอย่างมากที่นักออกแบบจะต้องสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับความสนใจ*จุดมุ่งหมายของการจัดหน้า1.กระตุ้นความสนใจในเนื้อหา2.ใช้สีสันเพื่อความเข้าใจในเนื้อหา3.เพื่อต้องการให้เกดความรักหนังสือ4.การออกแบบภาพต้องพิถีพิถัน สวยงาม*แนวคิดของการจัดหน้าการออกแบบการจัดหน้าหนังสือสำหรับเด็กจะมีลักษณะและวิธีการที่แตกต่างกันไปจากงานลักษณะอื่นๆ หนังสือประเภทนี้จะมุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาด้วยภาพประกอบเป็นหลักและมีข้อความเป็นส่วนประกอบ 3.การออกแบบรูปเล่มลักษณะของรูปเล่มจะเป็นแบบอย่างไรขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายประการ ตั้งแต่ความสะดวกในการหยิบอ่าน ความสวยงาม ความคล่องตัวในการพกพา ความสะดวกในการเก็บรักษา ความเหมาะสมกับขนาดความหนาของหนังสือ ความสอดคล้องกับระบบการจัดพิมพ์*ความหนาของรูปเล่ม
การกำหนดความหนา หรือจำนวนหน้ากระดาษของเล่มจะต้องได้รับการวางแผนไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของการวางแผนงาน โดยพิจารณาจากปริมาณของเนื้อหา ภาพประกอบ และการกำหนดรูปแบบของเล่มเพื่อกำหนดขนาดของคอลัมน์ข้อความ ขนาดความหนาจะต้องเป็นขนาดที่กระดาษมาตรฐานตัดลงตัว*การเย็บเล่มเมื่อได้ดำเนินการในกระบวนการพิมพ์เสร็จเรียบร้อย ผู้พิมพ์จำเป็นจะต้องกระทำกับชิ้นงานพิมพ์นั้นให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ กรณีที่เป็นโปสเตอร์อาจจะใช้งานได้เลย แต่ถ้าเป็นเอกสารต้องการเย็บเป็นรูปเล่ม ก็ต้องนำมาดำเนินการตามขั้นตอนในการพับเพื่อนำไปรวมเล่ม จะเป็นการพับกระดาษทีละแผ่นหรือที่ละยก ซึ่งแต่ละยกหรือแต่ละชุดเรียกว่า กนก ” (Signature) เมื่อพับครบยกแล้วจึงนำแต่ละกนกมาเย็บทำเป็นเล่มต่อไป*วิธีการพับ1.การพับด้วยมือ2.การพับด้วยเครื่องจักร ซึ่งมี 2 วิธี คือ2.1)เครื่องพับกระดาษแบบลูกกลิ้ง2.2)เครื่องพับกระดาษแบบใบมีด4.การออกแบบภาพประกอบการใช้ภาพประกอบในการสื่อความหมายในงานกราฟิกนับเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง จะเห็นว่าภาพสามารถทำหน้าที่ได้หลายทาง ได้แก่ อธิบายเนื้อหา ขยายความ สร้างความสนใจในเนื้อหาช่วยย่นระยะเวลาในการสื่อความหมายน้อยลง*ลักษณะของภาพประกอบ1)ภาพจริงหรือภาพเหมือนจริง2)ภาพการ์ตูน3)ภาพนามธรรม4.การออกแบบกราฟิกสำหรับเครื่องฉายงานกราฟิกสำหรับเครื่องฉายหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีรูปแบบและวิธีการสร้างต่างไปจากงานออกแบบสิ่งพิมพ์ทั่วไป ทั้งกระบวนการผลิตงานและแนวคิดในการทำงาน งานออกแบบกราฟิกในลักษณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ออกแบบจะต้องมีความประณีตสูง เพราะต้นฉบับจะถูกถ่ายทำหรือถ่ายทอดลงบนฉากที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ต้นแบบงานต้องมีอัตราส่วนการขยายภาพมากตามลักษณะการนำไปใช้ และเป็นการนำไปใช้โดยตรงด้วยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนเหมือนงานพิมพ์*ข้อสังเกตในการทำต้นแบบ1)การจัดทำต้นแบบสำหรับเครื่องฉายทุกประเภทควรเพิ่มหรือเผื่อพื้นที่ว่างทั้ง 4 ด้าน เพื่อความสะดวกในการถ่ายทำ2)ขนาดสัดส่วนของต้นฉบับจะแตกต่างกันไปตามลักษณะงานแต่ละชนิด ดังนั้นผู้ออกแบบจะต้องกำหนดขนาดและสัดส่วนของต้นฉบับให้สอดคล้องกับการนำไปใช้3)ควรกำหนดโครงสีที่ชัดเจน4)งานกราฟิกเกี่ยวกับเครื่องฉายควรเน้นภาพมากกว่าข้อความ5)การจดวางรูปแบบกรอบภาพนิยมจัดภาพในลักษณะแนวนอน เพราะให้ความรู้สึกเบาสบายตา

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักการจัดการองค์ประกอบศิลป์

ธาตุทางทัศนศิลป์

กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์